2551-07-16

ภัยสุขภาพที่ระบาดในหมู่คนทำงานยุคดิจิตอล

ใช้เวลาสำรวจตัวคุณเองสักนิดว่าจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภัยสุขภาพในยุคสังคมดิจิตอลนี้หรือไม่ คุณเป็นผู้หนึ่งที่มักจะปฏิบัติงานโดยอยู่ในอิริยาบถเดิมๆ นานเกินกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน คุณเป็นผู้หนึ่งที่นั่งทำงานอยู่กับตัวเลขนานเกินกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน คุณเป็นผู้หนึ่งที่ต้องนั่งตรวจและเขียนเอกสารนานเกินกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน คุณเป็นผู้หนึ่งที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการทำงานเกินกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
ขณะที่คุณกำลังอ่านและสำรวจตัวเองอยู่นี้ หากหนึ่งในสี่ข้อข้างต้นตรงกับพฤติกรรมประจำวันของคุณแล้ว คุณนับเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่กำลังถูกคุกคามจากภัยร้ายในสำนักงานนั่นเอง ข้อมูลล่าสุดจัดทำโดยศูนย์ศึกษาและวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างเดือนมกราคม 255 1 ที่ผ่านมานี้ การสำรวจอาการปวดในกลุ่มตัวอย่างคนทำงานออฟฟิศ หญิงและชาย ในจำนวน 413 คน (ชาย 183 คน หญิง 230 คน) พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานเฉลี่ยเกินกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน และใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ผลการศึกษา แสดงถึงอาการปวดที่เป็นกันมากที่สุด ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา 5 อันดับแรกคือ การปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดเอว และปวดศรีษะ ตามลำดับ โดยอาการปวดคอ มีมากถึง 84% และ ตามด้วยอาการปวดไหล่ 71%อาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อ คอและไหล่ที่กำลังคุกคามกลุ่มคนทำงานออฟฟิศเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ทั้งจากพฤติกรรม อิริยาบถในการทำงาน ลักษณะและสภาพแวดล้อมบริเวณเวิร์ค สเตชั่น รวมไปถึงความเครียดจากการทำงาน หรือทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะอาการดังกล่าวอาจทวีความรุนแรงจนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เกิดเป็นโรคประจำทศวรรษที่ได้ยินกันจนชินหูว่า “Office Syndrome หรือโรคภัยในสถานที่ทำงาน” นั่นเอง สำหรับวิธีการป้องกันและรักษาอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่นั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธีตามแต่สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการปรับเวิร์ค สเตชั่นให้เหมาะสม เปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานหรือเคลื่อนไหวร่างกายทุก 15-20 นาที ขจัดความเครียดในการทำงาน เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ การนวด การใช้ความร้อน-เย็นเพื่อให้กล้ามเนื้อยึดหดตัว การออกกำลังกายแบบง่ายๆ ในท่าทางต่างๆ หรืออีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาและต้องการความสะดวก คือการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่พัฒนาให้เหมาะสำหรับการบรรเทาปวดบริเวณคอและไหล่ เป็นต้น ดูแลใส่ใจตัวเองสักนิด เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี อย่าให้อาการปวดคอและไหล่แปรสภาพไปเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกับสุขภาพ และประสิทธิภาพในการทำงาน